การรับสมัคร นศ. ปริญญาโท วศ.ม.วิศวกรรมเครื่องกล รุ่นที่ 9 ประจำปี 2567

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
Master of Engineering Program in Mechanical Engineering
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
Rajamangala University of Technology Phra Nakhon
…………………………………………………………

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Master of Engineering (Mechanical Engineering)
ปริญญาและสาขาวิชา : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
Master of Engineering (Mechanical Engineering)
ชื่อย่อ : วศ.ม. (วิศวกรรมเครื่องกล)
: M.Eng. (Mechanical Engineering)

ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลที่มีองค์ความรู้และทักษะในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในชุมชนและอุตสาหกรรม ด้วยการวิจัยและพัฒนาทางวิศวกรรมเครื่องกลที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาระดับสากล ให้มีความชำนาญการเฉพาะด้าน บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม หน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
• เพื่อผลิตมหาบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลที่มีความรู้และความสามารถอย่างแท้จริงทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
• เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีทักษะเป็นเลิศในการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง มีศักยภาพในการทำวิจัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
• เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่ตอบสนองต่อการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
• เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในด้านคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยัน หมั่นเพียร ความสำนึกในจรรยาบรรณของอาชีพและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและสังคม

จุดแข้งของหลักสูตร
• เน้นการทำวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาของประเทศ
• มีทุนการศึกษาและทุนการทำวิจัยให้นักศึกษา
• มหาบัณฑิตมืออาชีพ นักปฏิบัติ
• มีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์จริงในภาคอุตสาหกรรมมาร่วมสอนในหลักสูตร
• จบการศึกษามีงานทำ 100%

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน (แผนการเรียน)
• แผน ก แบบ ก1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต เท่านั้น (ไม่มีรายวิชาที่ต้องเรียน)
• แผน ก แบบ ก2 ต้องเรียนรายวิชาบังคับ 3 วิชา (9 หน่วยกิต), วิชาเลือก 5 วิชา (15 หน่วยกิต) และทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

รายวิชาที่เปิดสอน
วิชาบังคับ
• คณิตศาสตร์ชั้นสูงสำหรับวิศวกร (Advanced Mathematics for Engineers)
• ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล (Research Methodologies for Mechanical Engineering)
• สัมมนาและการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรม (Seminar and Industrial Problem Solving)
วิชาเลือก (เลือกเรียน 5 วิชา)
• ทฤษฎีการยืดหยุ่น (Theory of Elasticity)
• พฤติกรรมทางกลของวัสดุ (Mechanical Behavior of Materials)
• กลศาสตร์ของการแตกหัก (Fracture Mechanics)
• วิธีไฟไนท์เอลิเมนท์สำหรับวิศวกรรมเครื่องกล (Finite Element Method for Mechanical Engineering)
• สมบัติทางกลของพอลิเมอร์ (Mechanical Properties of Polymers)
• ไตรโบโลยี (Tribology)
• การออกแบบระบบทางอุณหภาพ (Design of Thermal System)
• การเผาไหม้และการควบคุมมลพิษ (Combustion and Emission Control)
• เครื่องยนต์สันดาปภายในขั้นสูง (Advanced Internal Combustion Engine)
• ระบบทำความเย็นและการประยุกต์ใช้ (Refrigeration System and Applications)
• การวิเคราะห์พลังงานความร้อน (Thermal Energy Analysis)
• พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (Computational Fluid Dynamics)
• เทคโนโลยีพลังงานทดแทน (Renewable Energy Technology)
• พลังงานแสงอาทิตย์และการนำไปใช้ (Solar Energy and Applications)
• การอนุรักษ์พลังงานในอาคารและอุตสาหกรรม (Energy Conservation for Buildings and Industries)
• ข้อบังคับและเกณฑ์การทดสอบสําหรับวิศวกรรมยานยนต์
• การออกแบบการทดสอบสําหรับวิศวกรรมยานยนต์
• การวิเคราะห์และการทวนสอบสําหรับวิศวกรรมยานยนต์
• หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมเครื่องกล (Special Topics in Mechanical Engineering)

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
-ผู้สมัครเข้าเรียนในแผนการเรียนปกติ
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร วิศวกรรมอาหาร วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมแม่พิมพ์ ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลและ/หรือคุณวุฒิอื่นที่เทียบเท่า โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นผู้พิจารณา (ไม่จำกัดระดับเกรดเฉลี่ย ของผู้สมัครเข้าเรียน)

-ผู้ประสงค์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก1 รับผู้ที่มีผลการเรียนดี เรียนโดยไม่ต้องลงรายวิชาเรียน เน้นทำวิจัย ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมจากข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้
1. ได้ค่าระดับเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 จาก 4 ระดับคะแนน หรือเทียบเท่า
2. มีประสบการณ์การทำงานและมีผลงานทางวิชาการ เผยแพร่ในวารสารวิชาการหรือรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อย 1 ผลงาน

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
ผ่านการสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์

ระยะเวลาการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1 : มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 : พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ระยะเวลาในการศึกษาตามหลักสูตรเป็นเวลา 2 ปี การศึกษา แต่ไม่เกิน 5 ปี การศึกษา

ค่าใช้จ่ายและเวลาเรียน
ค่าใช้จ่ายต่อเทอม ภาคปกติ 22,000 บาท ภาคสมทบ 38,000 บาท

เวลาเรียน
ภาคปกติ เรียนเฉพาะวัน พฤ – ศ 09:00 – 16:00 น.
ภาคสมทบ เรียนเฉพาะวัน อาทิตย์ 09:00 – 20:00 น.

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
• วิศวกรเครื่องกลที่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น วิศวกรเครื่องกลในโรงงานอุตสาหกรรม วิศวกรโครงการ วิศวกรในสายงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล เป็นต้น
• นักวิจัย นักวิชาการในภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรมเครื่องกล เช่น อาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล นักวิจัยของหน่วยงานราชการ นักวิชาการของหน่วยงานราชการ
• ประกอบอาชีพอิสระหรืองานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล

กำหนดการรับสมัคร เทอม 1/2567
1. สมัครเข้าศึกษาด้วยตนเองตั้งแต่บัดนี้ ถึง วันที่ 27 กพ. 67 สมัครผ่านเวบไซด์ http://reg.rmutp.ac.th/registrar/apphome.asp หรือสมัครที่งานทะเบียน คณะวิศวกรรมศาสตร์ วันและเวลาราชการ 1381 ถ.ประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
2. สอบ ………….. พค. 67
3. ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ….. พค. 67
4. ผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์รายงานตัวผ่านเว็บไซด์ …………….
5. ปฐมนิเทศ จะแจ้งภายหลัง
6. เปิดภาคเรียนการศึกษาที่ 1/2567  ………………….

ดูข้อมูลเว็บไซด์สมัครได้ที่ http://reg.rmutp.ac.th/registrar/apphome.asp

เอกสารการสมัคร
1. สำเนาคุณวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาตรี สำหรับผู้สมัครที่กำลังศึกษาใช้ใบรายงานผลการศึกษา 1 ชุด ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. ให้แนบสำเนาคุณวุฒิทางการศึกษา ปวส.
2. สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด
3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
4. รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน
5. ในกรณีที่เปลี่ยนชื่อ – สกุล แนบเอกสารการเปลี่ยนชื่อ
6. ค่าสมัครสอบ 250 บาท

สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
เลขที่ 1381 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทรศัพท์ (Tel) : 0 2836 3000 ต่อ 4117,4169, 4118 โทรสาร (Fax) : 0 2585 9175
www.me.eng.rmutp.ac.th หรือ www.eng.rmutp.ac.th
Facebook : Mechanical Engineering Rmutp

โทรสอบถามโดยตรงได้ที่

  1. ผศ.ดร.ปฎิภาณ ถิ่นพระบาท 02 8363000 ต่อ 4167 หรือ 0896666491 padipan.t@rmutp.ac.th
  2. ผศ.ดร.ประเสริฐ วิโรจน์ชีวัน 02 8363000 ต่อ 4167 prasertwirot@rmutp.ac.th
  3. ดร.จันทิมา ริ้วลายเงิน 02 8363000 ต่อ 4168 rchnantima@gmail.com
  4. ผศ. ว่าที่ รต. ดร.ทรงวุฒิ มงคลเลิศมณี 02 8363000 ต่อ 4138 songwut41@hotmail.com

Facebook : Mechanical Engineering Rmutp

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
1. ผศ.ดร.ประเสริฐ วิโรจน์ชีวัน จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2. ผศ.ดร.ปฎิภาณ ถิ่นพระบาท จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัย Orleans ประเทศฝรั่งเศส
3. ดร.ประกอบ ชาติภุกต์ จบปริญญาเอกจาก National Research Tomsk Polytechnic University ประเทศรัสเซีย
4. ดร.จันทิมา ริ้วลายเงิน จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. ดร.ณทพร จินดาประเสริฐ จบปริญญาเอกจาก University of Rostock ประเทศเยอรมันนี
6. ดร.ศุภชัย หลักคำ จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
7. ดร.ปฏิวัตร  คมวชิรกุล จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
8.ดร.กฤษณ์ อภิญญาวิศิษฐ จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
9. ผศ.ดร.ภูภูมิ พ่วงเจริญชัย จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
10.ผศ.กุลยศ สุวันทโรจน์
11.ผศ. ว่าที่ รต. ดร.ทรงวุฒิ มงคลเลิศมณี จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
12.อ.พีรสิชฌ์ ชฎาธร
13.ดร.อนันต์ เต็มเปี่ยม จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
14.อ.พลรัชต์ บุญมี
15.อ.ศิริพล ทองอ่อน
16.อ.พิเชษฐ์ บุญญาลัย
17.อ.วิชยา อาภาเวท

18.อ.สถาพร วันนาพ่อ

19.ดร.ฐณพล เวียงทอง จบปริญญาเอกจาก มหาวิทยาลัย Montpellier ประเทศฝรั่งเศส

ห้องปฎิบัติการวิจัย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท
1.”ห้องปฏิบัติการวิจัย การทำความเย็น ปรับอากาศ และพลังงาน”  โดย ดร.จันทิมา ริ้วลายเงิน หัวหน้าห้องวิจัย

2.”ห้องปฏิบัติการวิจัย Finite Element และวัสดุ”  โดย ดร.ประกอบ ชาติภุกต์ หัวหน้าห้องวิจัย

3.”ห้องปฏิบัติการวิจัย เครื่องยนต์และพลังงานทางเลือก”  โดย ผศ.ดร.ปฎิภาณ ถิ่นพระบาท หัวหน้าห้องวิจัย

4.”ห้องปฏิบัติการวิจัย ด้านการอบแห้งและพลังงาน” โดย ดร.ปฏิวัตร คมวชิรกุล หัวหน้าห้องวิจัย

5.”ห้องวิจัยด้าน วิศวกรรมยานยนต์” โดย ผศ. ว่าที่ รต. ดร.ทรงวุฒิ มงคลเลิศมณี หัวหน้าห้องวิจัย

 

Scroll to Top