เกี่ยวกับเรา/About Us

     ณ ปี พ.ศ. 2497 วันที่ 14 เดือน กรกฎาคม พื้นที่แห่งนี้ได้ถูกสถาปนาเป็น กรมโยธาธิการสังกัดสำนักงานนายกรัฐมนตรี แต่ทว่ากรมโยธาธิการได้ถูกยกเลิกในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เพราะเนื่องจากงานของกรมโยธาธิการไปพ้องกับงานของกรมโยธาเทศบาล และในขณะนั้นเอง อาจารย์ สนั่น สุนิมิตร อธิบดีกรมอาชีวศึกษาในสมัยนั้น ได้ทำการขอเปิดโรงเรียนช่างกลขึ้น 2 แห่ง หนึ่งในนั้นคือ โรงเรียนช่างกลพระนครเหนือ

     ในปี พ.ศ. 2500 ทางรัฐบาลได้สั่งโอนสถานที่ของกรมโยธาธิการ ที่ตั้งอยู่สะพานพระราม 6 ให้แก่ กระทรวงศึกษาธิการเพื่อใช้ในการจัดตั้งโรงเรียน โดยกระทรวงศึกษา ได้มอบหมายให้ กรมอาชีวศึกษา จัดตั้งโรงเรียนช่างอุตสาหกรรมขึ้น มีชื่อว่า “โรงเรียนช่างกลพระนครเหนือ” โดยเริ่มเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งมีนักเรียนรุ่นแรก 803 คน จัดการเรียนการสอนออกเป็น 2 ผลัด เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกช่างกล (ปวช.) โดยที่ยังไม่มีการแบ่งเป็นช่างต่าง ๆ เหมือนในปัจจุบัน มีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 53 คน อาจารย์สิทธิผล พลาชีวิน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่างกลปทุมวันเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่คนแรก อาจารย์สมหมาย ชลานุเคราะห์ และอาจารย์จรัส กฤษณจินดา เป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ สถานที่มีเพียงตึกอำนวยการ 1 หลัง และโรงฝึกงานสร้างด้วยอลูมิเนียมสำเร็จรูป 4 หลัง ขณะนั้นโรงเรียนช่างกลพระนครเหนือ ยังไม่มีทรัพย์สินเป็นของตนเอง อุปกรณ์การเรียนการสอน ได้รับความช่วยเหลือจากโรงเรียนช่างกลปทุมวัน และได้รับอนุมัติงบประมาณในการ ก่อสร้างปรับปรุงอาคาร และจัดซื้อเครื่องมือ เครื่องจักร ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการฝึกเพิ่มเติม

     ในปี พ.ศ. 2520 ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนช่างกลพระนครเหนือ มาเป็น “วิทยาเขตพระนครเหนือ” สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี พุทธศักราช 2518 โดยได้โอนกิจการบางส่วนของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมาสังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
     วิทยาเขตพระนครเหนือได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ มีความเปลี่ยนแปลงฐานะจากโรงเรียน มาเป็นวิทยาลัย และเปลี่ยนจากวิทยาลัยมาเป็น วิทยาเขต ในสังกัด สถาบันเทคโนโลยี ราชมงคล เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานนามใหม่แก่วิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษา ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” และได้รับการสถาปนาขึ้น ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพระนครเหนือ”

     ในช่วง 40 ปี เศษได้มีการ ปรับปรุงพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักสูตร การเรียน การสอน ครู อาจารย์ อาคารสถานที่ และอุปกรณ์การฝึกงาน ทั้งนี้เพราะได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศหลายโครงการ เช่น โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา โครงการความร่วมมือจาก ประเทศออสเตรเลีย ภายใต้ แผนโคลัมโบ โครงการเงินยืมเพื่อพัฒนาการศึกษาระดับช่างเทคนิค โครงการผลิตกำลังคน ในสาขาเทคโนโลยี ทันสมัยในปีการศึกษา 2537 ได้มีโครงการความร่วมมือกับสถานประกอบการ ได้แก่ หอการค้าไทย-เยอรมัน บริษัท ไทยฮีโน มอเตอร์เซลส์ จำกัด บริษัท กรุงไทยแทรกเตอร์ จำกัด และสมาคม ผู้ค้า อัญมณีไทยและเครื่องประดับ ซึ่งยังผลให้วิทยาเขตสามารถผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพทางวิชาการได้หลายสาขา จนเป็นที่ยอมรับของวงการทั่วไปในปัจจุบัน

     สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้เริ่มก่อตั้งขั้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2501 ในนามแผนกวิชาช่างยนต์ เปิดสอนระดับ ปวช. ช่างยนต์ และต่อมาได้เปิดสอน ระดับ ปวส.ช่างยนต์ และปวส.ช่างจักรกลหนัก จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2537 ได้เปิดสอน หลักสูตร ค.อ.บ.วิศวกรรมเครื่องกล และในปี 2543 ได้เปิดสอน หลักสูตร อส.บ.เทคโนโลยีเครื่องกล และในปี พ.ศ.2545 ได้เปิดสอนหลักสูตร วศ.บ.วิศวกรรมเครื่องกล  รับผู้จบ ปวส. เข้าเรียน ในหลักสูตรเที่ยบโอน     ปัจจุบันนี้สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล เปิดสอน ปริญญาตรี วศ.บ.วิศวกรรมเครื่องกล รับผู้จบ ม.6/ปวช. เรียน 4 ปี  และได้การรับรองหลักสูตรจากสภาวิศวกร (กว.) ครั้งที่ 1 ปี 2545 -2549 ครั้งที่ 2 ปี 2550- 2554 ครั้งที่ 3 ปี 2555- 2559

ทำเนียบหัวหน้าแผนกช่างยนต์

ทำเนียบหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ปี พ.ศ.2548 ได้เปลี่ยน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ พ.ศ.2549 เปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร แผนกวิชาช่างยนต์ ได้เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

เกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

     ในปี พ.ศ. 2554 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล  ได้จัดประกวดตราสัญลักษณ์ ประจำสาขาวิชา  ซึ่งผู้ส่งเข้าประกวดกว่า 100 แบบ  จากผลการตัดสิ้นโดยประชุมคณาจารย์ของสาขาวิชา  ได้คัดเลือกรูปแบบที่ใกล้เคียงกับภาพนี้ แต่ทางอาจารย์ในสาขาแนะนำให้แก้ไขเพิ่มเติม  จนได้ตราสัญลักษณ์ ประจำสาขาดังที่ปรากฏ  ซึ่งมีความหมายดังนี้

  • เฟือง  หมายถึง ความรุ่งเรืองในงานทางด้านนายช่างและวิศวกร
  • เฟือง สีเลือดหมู หมายถึง สีของคณะวิศวกรรมศาสตร์
  • ME  ย่อมาจาก Mechanical Engineering
  • ลูกสูบ โรตารี่  หมายถึง ความมีพลัง มีประสิทธิภาพสูง  (กว่าเครื่องยนต์ของรถยนต์แบบอื่น ๆ)
  • ลูกสูบโรตารี่ สีม่วง หมายถึง สีประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ทั้งหมดถูกร้อยเข้าสกรู สามตัว อันหมายถึง ความมั่นคง ความสามัคคี ให้สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล นักศึกษา คณาจารย์ เจริญก้าว ตลอดไป

Scroll to Top